วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่ 9 การรักษาความปลอดภัยของระบบ

บทที่ 9 การรักษาความปลอดภัยของระบบ


แพล็ตฟอร์ม ( Platform ) หมายถึง สภาพแวดล้อมของระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มีความเข้ากันได้ และสามารถทำงานร่วมกันได้

การรักษาความปลอดภัยบนวินโดวส์แพล็ตฟอร์ม
คอมพิวเตอร์แบบพีซีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ล้วนจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันหรทอกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ ประกอบกับทุกวันนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ล้วนมีการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงทำให้มีโอกาสที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ติดไวรัสได้ง่ายขึ้น









1.การตั้งค่าความปลอดภัย
2.การสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูล
3.การเปิด/ปิดการรับแจ้งข่าวสาร
4.การตั้งค่าระดับการควบคุมบัญชีผู้ใช้
5.การตั้งค่าอัปเดตซอฟต์แวร์
การรักษาความปลอดภัยบน iOS แพล็ตฟอร์ม ทางแอปเปิลจะมี iCloud ไว้คอยบริการเพื่อ
1.การค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องด้วย Find My iPhone
2.การสำรองข้อมูลและเก็บรักษาบริการออนไลน์
3.การอัปเดตซอฟต์แวร์
การรักษาความปลอดภัยบน Android แพล็ตฟอร์ม ประกอบด้วย
1. การติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันโปรแกรมประสงค์ร้าย เช่น มัลแวร์ และไวรัสคอมพิวเตอร์
2.การเลือกติดตั้งแอปจากสโตร์ที่น่าเชื่อถือ
3.การใช้แอป Device Manager เพื่อช่วยติดตามอุปกรณ์ (คล้ายกับ Find My iPhone)
4.การอัปเดตซอฟต์แวร์
เนื่องจาก Android เป็นระบบเปิด จึงเสี่ยงต่อภัยคุกคามต่างๆ ง่ายกว่า iOS ซึ่งเป็นระบบปิด
ความปลอดภัยพื้นฐานสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตหรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟนประกอบด้วย
1.การตั้งล็อกอัตโนมัติ

2.การตั้งรหัสผ่าน

บทที่ 8 โปรแกรมยูทิลิตี้

บทที่ 8 โปรแกรมยูทิลิตี้

 ความหมายของโปรแกรมยูทิลิตี้

โปรแกรม หมายถึงโปรแกรมที่ช่วยจัดการระบบทางด้านต่าง ๆ รวมไปถึงดูแลรักษาและซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์  และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 ได้มีการพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อใช้สำหรับดูแลรักษาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกทั้งทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาให้คอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงข้อแนะนำและแนวทางแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยเครื่องมือเหล่านี้ถูกต้องอยู่ในกลุ่มของคำสั่ง System Tools ใน Accessory

CPU-Z คืออะไร
     CPU-Z คือโปรแกรมแบบฟรีแวร์ สามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ใช้สำหรับตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของ CPU, mainboard, RAM, OS และ DirectX  ได้อย่างละเอียด  ประโยชน์ของเจ้าโปรแกรมตัวนี้ เช่น เวลาเราซื้อโน้ตบุ๊กตัวใหม่ เราสามารถเช็คสเปคก่อนออกจากร้านได้ เผื่อสเปคไม่ตรงตามที่เราเข้าใจ บางครั้งพนักงานขายอาจหยิบตัวที่สเปคต่ำกว่ามาให้ เพราะหน้าตาของเจ้าโน้ตบุ๊กเหมือนกัน  ปัจจุบันโปรแกรม CPU-Z มีเวอร์ชั้นล่าสุด คือ CPU-Z 1.59 ซึ่งรองรับ Windows 8


โปรแกรม Memtest เป็น โปรแกรมเช็คแรม หรือ โปรแกรมตรวจสอบ RAM ตรวจสภาพการทำงานของหน่วยความจำ หรือที่เรียกว่า "RAM" อย่างละเอียดยิบ ทดสอบขีดจำกัดของแรม หาข้อผิดพลาด (Error) จุดเสีย ที่มีอยู่ในแรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์คุณ จะได้รู้ว่าเสียหรือไม่เสีย โดนหลอกหรือไม่โดนหลอก ซึ่งมันสามารถทำงานได้กับทุกระบบปฏิบัติการขนาดเล็กมากๆ โดยการใช้งานมันเป็นหน้าจอที่พื้นๆ บ้านๆ ไม่ได้มีกราฟฟิค หรือ หน้าตาโปรแกรมที่สวยงามอะไร แต่มีประสิทธิภาพจริงๆ ซึ่งโปรแกรม Memtest ตัวนี้สนับสนุนและสามารถใช้ทดสอบ ตรวจสอบหน่วยความจำ (RAM) ได้หลากหลายยี่ห้อจริงๆ ลองดาวน์โหลดไปใช้ทดสอบดูได้ โดยรายละเอียดของแรมนั้น โปรแกรม MemTest ตัวนี้ได้ดึงค่ามาจาก SPD แต่ถ้าหากดึงค่ามาจาก SPD ไม่ได้ โปรแกรมนี้จะไปดึงค่ามาจากในส่วนของ SMBIOS แทน

pc tool registry mechanic (โปรแกรม บริหารและจัดการ Registry ให้มีเสถียรภาพ) : โปรแกรมนี้เป็น โปรแกรมที่มีหน้าที่เอาไว้ในการ ตรวจค้น (Scan), กวาดล้าง (Clean) หรือจะเป็นการ ซ่อมแก้ไข (Repair) เจ้าตัว รีจิสตรี้ (Registry) ครับ ซึ่งเจ้าตัว รีจิสตรี้ นี้ถือได้ว่าเป็นตัวที่สำคัญของเครื่องเลยก็ว่าได้ เพราะว่าอย่างไอ้เจ้าตัว โปรแกรมพวก สปายแวร์ (Spyware) หรือ ม้าโทจ้น (Trojan Horse) ที่อาจจะเข้ามาสร้างความรำคาญใจ หรือ สร้างความวุ่นวาย ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน หรือ ตลอดจนตัวท่านเอง พวกนี้มันก็เข้ามาแก้ไขใน รีจิสตรี้ แห่งนี้แหละครับ

WinRAR (โหลด WinRAR โปรแกรมบีบอัดไฟล์ อันดับ 1 ของโลก) : สำหรับ โปรแกรมวินราร์ นี้ก็เป็น อีกหนึ่ง โปรแกรมสัญชาติเยอรมัน (Germany) ที่ก่อตั้งเริ่มลงเข็มพัฒนา ให้ โหลด WinRAR กันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 มาถึงวันนี้ก็ร่วมสิบกว่าปีแล้ว อาจจะพัฒนามาหลัง โปรแกรม WinZip ก็จริงแต่ว่า ความสามารถของ โปรแกรม WinRAR ไม่ได้ล้าหลังเลย

  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ WinRAR
 

  AVG Anti-Virus โปรแกรมป้องกันไวรัสและมัลแวร์แบบฟรีแวร์ยอดนิยมสำหรับผู้ใช้วินโดวส์ได้ปรับเวอร์ชันหลักเป็นเวอร์ชัน AVG Anti-Virus 2013 โดยเวอร์ชันนี้สามารถทำงานเข้ากันได้กับ Windows 8 ระบบปฏิบัติการตัวใหม่ล่าสุดของไมโครซอฟท์ได้อย่างสมบูรณ์ ปรับระบบอินเทอร์เฟชใหม่ให้ใช้งานได้ง่ายและเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีปรับปรุงการทำงานในด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้น อย่างเช่น ปรับปรุงประสิทธิภาพการสแกนให้ทำงานเร็วขึ้น, ทำงานร่วมกับไฟร์วอลล์ของเธิร์ดปาร์ตี้ได้ดีขึ้น และลดเวลาการโหลดโปรแกรมทำให้การบูทระบบ Windows เร็วขึ้น
 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ AVG Anti-Virus

บทที่ 7 การใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 7 และเทคนิคพื้นฐานที่ควรรู้

บทที่ 7 การใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 7 และเทคนิคพื้นฐานที่ควรรู้


        แกดเจ็ต (Gadgets) คือ โปรแกรมเล็กๆ ที่สามารถนำมาวางไว้บนเดสท๊อปเพื่อการใช้งานตามคุณสมบัติของโปรแกรมแกดเจ็ตนั้นๆ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แกดเจ็ต
        คอนโทรลพาเนล เปรียบเสมือน แผงควบคุมการทำงาน ซึ่งเป็นศูนย์รวมของโปรแกรมสำคัญต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้งค่าและเรียกใช้ได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอนโทรลพาเนล

        การตั้งเวลาปิดเปิดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเข้าไผตั้งค่าในคอนโทรลพาเนลในส่วนของ Adminstrative Tools > Schedul tasks
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การตั้งเวลาเปิด ปิด ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์


แนวคิดการจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
1. ควรจัดเก็บข้อมูลต่างๆ แยกออกจากไฟล์โปรแกรม
2. ไม่ควรเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ที่ถูกสร้างขึ้นจากโปรแกรมติดตั้ง
3. ควรจัดเก็บไฟล์ข้อมูลเพียงชุดเดียว
4. จัดระเบียบโฟลเดอร์ให้ใช้งานง่ายที่สุด
5. ให้ตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ที่สื่อความหมายได้ดี

Windows Explorer เป็นโปรแกรมที่นำมาใช้จัดการไฟล์และโฟลเดอร์

Command Prompt บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ได้จัดเตรียมให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้งานคำสั่งเพื่อตอบโต้ในแบบระบบปฏิบัติการดอสยุคสมัยก่อน 


คำสั่งเปลี่ยนทิศทางการรับส่งข้อมูล
1. การเปลี่ยนทิศทางการแสดงผลไปยังเอาท์พุต ใช้สัญลักษณ์ >
2. การเปลี่ยนทิศทางการแสดงผลไปยังเอาท์พุตด้วยการต่อท้ายข้อมูลเดิม ใช้สัญลักษณ์ >>
3. การเปลี่ยนทิศทางการแสดงผลด้วยการรับข้อมูลจากไฟล์แทน ใช้สัญลักษณ์

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

บทที่ 6 การติดตั้งไดร์เวอร์ และงานปรับแต่งพื้นฐาน

บทที่ 6 การติดตั้งไดร์เวอร์ และงานปรับแต่งพื้นฐาน

ไดรเวอร์ หมายถึง ตัวขับอุปกรณ์ จัดเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติจะแนบมาพร้อมกับอุปกรณ์ภายในกล่องบรรจุภัณฑ์ เช่น ไดรเวอร์เมนบอร์ด ไดรเวอร์เครื่องพิมพ์ และไดรเวอร์เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น


หน้าที่หลักของไดรเวอร์ คือ ช่วยให้ระบบปฏิบัติการสามารถเข้าไปติดต่อและจัดการกับอุปกรณ์ I/O เพื่อควบคุมการทำงานอุปกรณ์เหล่านั้น
เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการการ Windows 7 เสร็จแล้ว ยังถือว่าไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะอาจมีอุปกรณ์บางตัวที่ระบบปฏิบัติการไม่รู้จัก ต้องติดตั้งไดรเวอร์อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ให้ครบ ซึ่งปกติโปรแกรมไดรเวอร์ ทางผู้ผลิตมักบรรจุลงในแผ่นซีดี/วีซีดีที่แนบมาพร้อมกับชุดบรรจุภัณฑ์

           Device Manager ในระบบปฏิบัติการ Windows เป็นศูนย์รวมของเหล่าอุปกรณ์ที่ได้เชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบ โดยรายการฮาร์ดแวร์ทั้งหมดในเครื่อง สามารถได้รับการปรับตั้งค่าผ่านศูนย์กลางแห่งนี้

            ความละเอียดของจอภาพ ค่าติดตั้งที่เหมาะสมจะต้องสัมพันธ์กับขนาดจอภาพ รวมถึงขัดความสามารถของไดร์เวอร์จอภาพ


            Screen Saver เป็นการตั้งค่าให้แสดงภาพเคลื่อนไหวบนจอภาพ เมื่อไม่มีการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ภายในระยะเวลาที่กำหนด




วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 2 โครงสร้างของระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์และโครงสร้างของระบบปฎิบัติการ

โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์ และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

                        


       ระบบคอมพิวเตอร์ ในยุคปัจจุบัน จะประกอบไปด้วยซีพียู และตัวควบคุมอุปกรณ์ (Device Controller) อยู่จำนวนหนึ่ง ที่มีการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันผ่านสายส่งข้อมูล หรือที่เรียกว่าบัส (Bus) 
      ตัวควบคุมอุปกรณ์ แต่ละตัวจะมีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ที่ตนรับผิดชอบ เช่น ดิสก์ไดรฟ์ หรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น


             Device controller แต่ละตัวรับผิดชอบ device ของตัวเองCPU และ device controller สามารถทำงานพร้อมกันได้มี memory controller เพื่อจัดลำดับการ share memoryเมื่อคอมพิวเตอร์เริ่ม running ตัวอย่างเช่น เมื่อเปิดสวิตช์ หรือ reboot ก็จำเป็นที่จะต้อง run โปรแกรมเริ่มต้น (initial program) หรือ boot strap program ซึ่งเป็นการนำ register ของ CPU และ device controller เข้าสู่หน่วยความจำ bootstrap program ต้องถูก load ไปไว้ใน kernel ของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการจึงจะเริ่ม execute โปรแกรมแรก เช่น “init” และรอผลลัพธ์ ผลที่ได้มักเป็นสัญญาณขัดจังหวะ จากฮาร์ดแวร์หรือซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์อาจขัดจังหวะโดยส่งสัญญาณผ่านทาง system bus มาที่ CPU โดยซอฟแวร์ ขัดจังหวะโดยการปฏิบัติการบางอย่างที่พิเศษเรียกว่า system call หรือ monitor callเมื่อ CPU ถูกขัดจังหวะ ก็จะหยุดทำงานที่กำลังทำอยู่ แล้วหันไปทำงานตามสัญญาณขัดจังหวะนั้นทันที โดยย้ายไปทำงานยังตำแหน่งในหน่วยความจำที่บรรจุโปรแกรมสำหรับดำเนินการกับสัญญาณนั้น (interrupt service routine) เมื่อดำเนินการเสร็จ CPU ก็จะกลับไปทำงานเดิมที่ค้างไว้

       หน้าที่โดยทั่วไปของสัญญาณขัดจังหวะ
สัญญาณขัดจังหวะจะส่งการควบคุมไปยัง interrupt service routine ผ่านทาง ตารางสัญญาณขัดจังหวะ (interrupt vector) (array ของ address ของ service routine ต่าง ๆ)สถาปัตยกรรมของสัญญาณขัดจังหวะ จะต้องบันทึกตำแหน่งของชุดคำสั่งที่ถูกขัดจังหวะไว้สัญญาณขัดจังหวะที่เข้าสู่ระบบจะถูก disable ถ้ามีการทำงานของสัญญาณขัดจังหวะตัวอื่นอยู่ก่อนแล้ว เพื่อป้องกันการสูญหายของสัญญาณขัดจังหวะ (lost interrupt)ในระบบที่ซับซ้อนขึ้นอาจยอมให้มีการขัดจังหวะซ้อน ๆ กันได้โดยเรียงตามศักดิ์(Priority) สัญญาณที่มีศักดิ์สูงกว่าอาจขัดจังหวะสัญญาณที่มีศักดิ์ต่ำกว่า แต่ถ้ามีศักดิ์เท่ากันต้องรอ interrupt พร้อมกันไม่ได้ระบบปฏิบัติการยุคใหม่ ใช้ ตัวขับสัญญาณขัดจังหวะ (interrupt driver) ถ้าไม่มีการ process , ไม่มีการเรียกใช้อุปกรณ์รับส่งข้อมูล ไม่มีการตอบสนองผู้ใช้ ระบบปฏิบัติการก็ไม่ต้องทำอะไร นั่นเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าเกิด interrupt หรือ trap (กับดัก)trap คือ software-generated interrupt (การเกิดการขัดจังหวะของซอฟแวร์) ซึ่งเกิด error หรือไม่ก็เกิดจาก การร้องขอของโปรแกรมของผู้ใช้

       อินเตอร์รัพท์เวคเตอร์และกลไกการอินเตอร์รัพท์อินเตอร์รัพท์เวคเตอร์ มีบทบาท ในการ กระโดด ไปยัง ตำแหน่งใหม่ เมื่อ ซีพียูได้รับ สัญญาณ อินเตอร์รัพท์ ดังนี้ คือ เมื่อซีพียู ได้รับ สัญญาณ อินเตอร์รัพท์ ซีพียู จะตอบรับ และกระโดด ไปทำ ยังตำแหน่งที่ บอก อินเตอร์รัพท์เวคเตอร์ มาจากไหน โดยหลักง่ายๆ สัญญาณ อินเตอร์รัพท์ เป็นสัญญาณเกิด จาก วงจรภายนอก ซีพียู ดังนั้น วงจรภายนอก ที่เป็นตัวกำเนิด สัญญาณ INT นี้ ต้องเป็นผู้ บอกให้ซีพียู รู้ว่า จะต้อง ไปทำคำสั่ง ที่ไหน นั่นคือ วงจรภายนอก จะต้องเป็นผู้ ให้อินเตอร์รัพท์ เวคเตอร์ ซึ่งเป็น ตัวเลข ไบนารี แก่ซีพียู ในเวลา ที่ซีพียู ตอบรับรู้ สัญญาณ นั่นเอง เราอาจ เรียกง่ายๆ ว่า ขบวนการ Interrupt acknowledge คือ การตอบรับรู้ วงจรภายนอก ที่กำเนิดสัญญาณ อินเตอร์รัพท์นั้น และ ขอรับ อินเตอร์รัพท์ เวคเตอร์ จากวงจร ภายนอก นั่นเอง


       DMA (Direct Memory Access) หรือการส่งเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำโดยตรง คือกระบวนการโอนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยความจำกับอุปกรณ์ภายนอก โดยไม่ผ่าน CPUกระบวนการ DMA เริ่มต้นจาก1. อุปกรณ์ที่ต้องการทำ DMA ส่งสัญญาณ DREQ เพื่อร้องขอทำ DMA ไปยัง DMA controller ในช่องทาง (channnel) ที่ต้องการ2. เมื่อ DMA controller ได้รับสัญญาณ ก็จะตรวจสอบก่อนว่าสามารถอณุญาติให้ทำ DMA ได้หรือไม่แล้วจึงส่งสัญญาณ HRQ เพื่อบอก CPU ว่าต้องการเข้ามาใช้ BUS โดยส่งสัญญาณนี้ไปยังของ HOLD ของ CPU3. เมื่อ CPU ได้รับสัญญาณ HRQ จาก DMA controller ที่ขา HOLD และพร้อมที่จะตอบสนองก็จะส่งสัญญาณ HLDA หรือ Hold Acknowledge ตอบกลับไปยัง DMA controller เพื่อแสดงว่า CPU ได้ปลดตัวเองและปล่อยการควบคุม แล้วจะส่งหน้าที่ต่างๆให้ DMA controller รับไปดำเนินการ4. เมื่อ DMA controller ได้รับสัญญาณ HLDA แล้วก็เข้าควบคุม address bus และ controller bus และส่งสัญญาณ DACK ตอบกลับไปยังอุปกรณ์เพื่อแสดงถึงการพร้อมสำหรับเริ่มต้นส่งข้อมูล5. การส่งข้อมูลจะเริ่มต้นโดยจะส่งสัญญาณ AEN ส่งสัญญาณ คือ address แรกของหน่วยความจำเป้าหมายออกไปที่ address bus และส่งสัญญาณไปควบคุมการเขียนและอ่านหน่วยความจำกับอุปกรณ์กับอุปกรณ์ออกไป เพื่อดำเนินการย้ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์กับหน่วยความจำ6. เมื่อข้อมูลโอนย้ายจนครบสมบูรณ์แล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการยกเลิก DMA โดย DMA จะส่งสัญญาณ EOP หรือ End Of Process ออกไป7. ส่งผลให้สัญญาณ AEN ตกลงเป็น LOW เพื่อคืน bus ให้กับ CPU และ HRQ จาก DMA controller ที่ไปของให้ CPU HOLD ก็จะหายไป เพื่อให้ CPU กลับมาดูแล bus ต่างๆดังเดิม8.เมื่อสัญญาณที่ร้องของ HOLD หายไป CPU ก็จะรับรู้และจะตอบสนองโดยยกเลิกสัญญาณ HLDA เพื่อแสดงว่าตอนนี้ CPU กลับมาดูแลระบบแล้ว



      ลำดับชั้นของหน่วยความจำ (Memory Hierarchy)หน่วยความจำมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน  แต่ละชนิดต่างก็มีอัตราความเร็วที่แตกต่างกันรวมทั้งขนาดความจุและราคาที่แตกต่างกัน  สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า เพื่อให้เราเลือกหน่วยความจำใช้งานได้อย่างเหมาะสม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลำดับชั้นของหน่วยความจำ

      หน่วยความจำชั่วคราว (Volatile memory) คือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังต้องการให้มันเก็บข้อมูลนั้นอยู่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือหากไม่ได้รับไฟฟ้าเลี้ยงแล้วข้อมูลที่เคยเก็บอยู่ในหน่วยความจำชั่วคราวก็จะหายไป ตัวอย่างของหน่วยความจำชั่วคราวก็คือ แรมชนิดต่างๆ ตรงกันข้ามกับหน่วยความจำถาวรที่ยังรักษาข้อมูลอยู่แม้ว่าจะไม่มีไฟฟ้าเลี้ยงแล้วก็ตาม

       หน่วยความจำถาวร ( Non-volatile memory) คือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บรักษาข้อมูลได้อยู่โดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้า ตัวอย่างหน่วยความจำถาวรเช่น รอม, แฟลช ยังรวมถึงหน่วยเก็บข้อมูลด้วยแม่เหล็ก เช่น จานบันทึกแบบแข็ง (hard disks), แผ่นบันทึก (floppy disks) และแถบแม่เหล็ก (magnetic tape), หน่วยเก็บข้อมูลด้วยแสง เช่น แผ่นซีดี และหน่วยเก็บข้อมูลยุคเก่า เช่น บัตรเจาะรู


       การป้องกันหน่วยความจำระบบต้องมีการป้องกัน ความผิดพลาดที่เกิดจากกระบวนการหนึ่งไปกระทบอีกกระบวนการหนึ่ง โดยสร้างกลไกบางอย่างเพื่อป้องกันแฟ้มข้อมูล, หน่วยความจำส่วนหนึ่งหรือหน่วยประมวลผลกลาง

      โครงสร้างของระบบปฎิบัติการ

1 การจัดการกระบวนการ (Process Management)กระบวนการคือ โปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ได้แก่ งานแบบกลุ่ม (batch job) โปรแกรมของผู้ใช้ในระบบปันส่วน (time-shared user program) งานสปุลลิ่ง เป็นต้นกระบวนการต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในการทำงานหนึ่ง ๆ เช่น เวลาประมวลผล , หน่วยความจำ , แฟ้มข้อมูล และอุปกรณ์รับส่งข้อมูล ซึ่งกระบวนการอาจได้รับทรัพยากรเหล่านี้ตั้งแต่ตอนที่ถูกสร้างขึ้น หรือได้มาระหว่างทำงาน ทั้งยังสามารถส่งผ่านทรัพยากรไปสู่กระบวนการอื่นได้อีกด้วย เช่น กระบวนการหนึ่งมีหน้าที่แสดงสถานะของแฟ้มข้อมูลหนึ่ง บนจอภาพ ก็จะได้รับข้อมูลเข้าเป็นชื่อแฟ้มข้อมูล และก็จะทำคำสั่งบางอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลสถานะของแฟ้มนั้นมาเพื่อแสดงต่อไป
กระบวนการเป็นหน่วยย่อยของงานในระบบ ระบบประกอบไปด้วยกระบวนการหลาย ๆ กระบวนการ กระบวนการบางอันเป็นของระบบปฏิบัติการเอง บางอันเป็นของผู้ใช้ระบบ กระบวนการเหล่านี้สามารถทำงานไปเสมือนพร้อมกัน (concurrent) ได้ โดยการสลับกันใช้หน่วยประมวลผลกลาง

2 งานบริการของระบบปฏิบัติการ (Operating – System Service)ระบบปฏิบัติการ เป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมให้โปรแกรมทำงาน โดยให้บริการต่าง ๆ แก่โปรแกรม และผู้ใช้ระบบ ระบบปฏิบัติการต่าง ๆ มักมีการให้บริการที่แตกต่างกัน แต่จะมีส่วนหนึ่งที่เหมือนกัน เพื่อให้ความสะดวกต่อผู้ใช้ หรือ ผู้เขียนโปรแกรม ในการทำงานต่าง ๆ ให้ง่ายและรวดเร็ว บริการเหล่านี้ ได้แก่การให้โปรแกรมทำงาน (Program Execution) ระบบต้องสามารถนำโปรแกรมลงสู่หน่วยความจำหลัก และให้โปรแกรมทำงาน โดยที่การทำงานต้องมีวันสิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็นปกติหรือไม่ปกติก็ตามการรับส่งข้อมูล (I/O Operation) โปรแกรมของผู้ใช้อาจต้องการรับส่งข้อมูล โดยผ่านแฟ้มข้อมูล หรือ อุปกรณ์รับส่งข้อมูล อุปกรณ์รับส่งข้อมูลบางชนิดต้องการคำสั่งช่วยพิเศษ เช่น เครื่องขับเทป ต้องการการถอยหลังกลับเมื่อเต็ม หรือจอภาพต้องการคำสั่งล้างจอเมื่อเริ่มต้นทำงาน เนื่องจากผู้ใช้ไม่สามารถใช้อุปกรณ์รับส่งข้อมูลได้โดยตรง ดังนั้น ระบบจึงต้องจัดหาวิธีการเพื่อเป็นตัวกลางใช้แทนการใช้ระบบแฟ้มข้อมูล (File – system Manipulation) ระบบแฟ้มข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โปรแกรมต้องการอ่าน หรือ เขียนข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล นอกจากนี้ ยังต้องการสร้าง หรือ ลบแฟ้มข้อมูลด้วยการใช้ชื่อแฟ้มการติดต่อสื่อสาร (Communications) บางครั้งกระบวนการหนึ่งอาจต้องการส่งข้อมูลให้อีกกระบวนการหนึ่ง โดยที่กระบวนการทั้งสองนั้น อาจอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกันหรือคนละเครื่องกัน แต่ติดต่อผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสารนี้อาจทำได้โดยใช้ หน่วยความจำร่วม (share memory) หรือ การส่งผ่านข้อความ (message passing) โดยมีระบบปฏิบัติการเป็นตัวกลางการตรวจจับข้อผิดพลาด (Error detection) ระบบปฏิบัติการจำเป็นต้องมีกลไกในการตรวจจับข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ในหน่วยประมวลผลกลาง (เครื่องเสีย , ไฟดับ) ในอุปกรณ์รับส่งข้อมูล (เทปเสีย , การติดต่อผ่านเครือข่ายล้มเหลว , หรือกระดาษพิมพ์หมด) หรือในโปรแกรมของผู้ใช้ (เช่น คำนวณผิด , ระบุตำแหน่งในหน่วยความจำผิด หรือ ใช้ CPU time มากไป) สำหรับข้อผิดพลาดแต่ละชนิด ระบบปฏิบัติการจะจัดการด้วยวิธีที่เหมาะสมเพื่อแก้ข้อผิดพลาดเหล่านั้นนอกจากระบบปฏิบัติการจะมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ ยังต้องประกันประสิทธิภาพในการปฏิบัติการของระบบเองอีกด้วย ในระบบผู้ใช้หลายคน เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันการจัดสรรทรัพยากร (Resource allocation) เมื่อมีผู้ใช้หลายคนหรืองานหลายงานทำงานพร้อมกันในช่วงเวลาหนึ่ง ทรัพยากรต่าง ๆ ก็ต้องถูกจัดสรรให้กับคนหรืองานเหล่านั้น ชนิดของทรัพยากรต่าง ๆ จะถูกจัดการด้วยระบบปฏิบัติการ ทรัพยากรบางอย่าง (เช่น รอบการใช้ CPU , หน่วยความจำหลัก และ ที่เก็บแฟ้มข้อมูล) อาจจะมีรหัสในการจัดสรรพิเศษ โดยที่ทรัพยากรอย่างอื่น (เช่น อุปกรณ์รับส่งข้อมูล) อาจจะมีรหัสร้องขอ และปลดปล่อยพิเศษการทำบัญชี (Accounting) เราต้องเก็บรวบรวมการทำงานของผู้ใช้ โดยเก็บบันทึกไว้เป็นบัญชีหรือทำเป็นสถิติการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ แบบสะสม สถิติการใช้เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับนักวิจัยซึ่งหวังจะ reconfigure ระบบเพื่อปรับปรุงบริการในด้านการคำนวณการป้องกัน (Protection) information ที่เก็บในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้หลายคนอาจจะต้องการควบคุมการใช้งานด้วยตัวมันเอง เมื่อมีกระบวนการหลาย ๆ กระบวนการทำงานพร้อมกัน เราต้องไม่ให้กระบวนการหนึ่งไปแทรกแซงกระบวนการอื่น ๆ หรือ แม้แต่ตัวระบบปฏิบัติการเอง การป้องกันเป็นการประกันว่า การเข้าถึงทรัพยากรของระบบทั้งหมดต้องถูกควบคุม การรักษาความปลอดภัยของระบบจากภายนอกเป็นสิ่งสำคัญ การรักษาความปลอดภัยเริ่มด้วย ผู้ใช้แต่ละคนต้องได้รับการรับรองตัวเองต่อระบบ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงรหัสผ่าน เพื่ออนุญาตให้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงการป้องกันอุปกรณ์รับส่งข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วย โมเด็มและการ์ดเครือข่าย (network adapters) ถ้าระบบถูกป้องกันและรักษาความปลอดภัยก็เท่ากับว่าเป็นการป้องกันไว้ก่อนลาง

3 System Calls (การเรียกระบบ)System Call จัดเตรียมส่วนต่อประสาน (interface) ระหว่างกระบวนการหนึ่งกับระบบปฏิบัติการ การเรียกระบบมักเป็นคำสั่งภาษา assembly บางระบบอาจอนุญาตให้เรียกระบบได้โดยตรงจากโปรแกรมภาษาระดับสูง ซึ่งกรณีนี้การเรียกระบบจะถูกกำหนดเป็นหน้าที่ หรือ subroutine call (การเรียกระบบย่อย)ภาษาหลาย ๆ ภาษา เช่น C , Bliss , BCPL , PL/360 , และ PERL ถูกนำมาใช้แทน assembly สำหรับการเขียนโปรแกรมระบบตัวอย่างการเรียกระบบ ลองดูการโปรแกรมซึ่งอ่านข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลหนึ่งแล้วเขียนลอกลงในอีกแฟ้มหนึ่ง ขั้นแรกโปรแกรมต้องทราบชื่อของแฟ้มข้อมูลทั้งสองนั้นเสียก่อน (input file และ output file) ถ้าเป็นระบบที่ใช้สัญลักษณ์ภาพ และตัวชี้ (icon –based และ mouse – based) มักมีรายชื่อแฟ้มบนจอภาพให้ผู้ใช้เลือก โดยใช้ตัวชี้ และ กดปุ่มบนตัวชี้ เพื่อกำหนดแฟ้มรับ และ แฟ้มส่งข้อมูลเมื่อได้ชื่อแฟ้มทั้งสองแล้ว โปรแกรมก็ต้องเรียกระบบ เพื่อให้เปิดแฟ้มส่งข้อมูล และ สร้างแฟ้มรับข้อมูล อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในการเรียกระบบนี้ เช่น ไม่มีแฟ้มข้อมูลที่ผู้ใช้ขอเปิดเป็นแฟ้มส่งข้อมูล (หาชื่อไม่พบ) หรือ ผู้ใช้ไม่มีสิทธิใช้แฟ้มข้อมูลดังกล่าว (protected) ซึ่งโปรแกรมต้องแสดงข้อความทางจอภาพ (โดยการเรียกระบบอีกคำสั่งหนึ่ง) หรือ สั่งหยุดการทำงาน (โดยเรียกระบบอีกคำสั่งหนึ่ง) โดยมีข้อผิดพลาด ถ้าพบแฟ้มส่งข้อมูล และ สามารถเปิดได้ ต่อไปก็เป็นการสร้างแฟ้มรับข้อมูลใหม่ (เรียกระบบเช่นกัน) อาจมีข้อผิดพลาดได้เหมือนกัน เช่น ชื่อแฟ้มซ้ำกับแฟ้มที่มีอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะทำให้โปรแกรมต้องหยุดการทำงาน (โดยการเรียกระบบ) หรือ ลบแฟ้มเก่าทิ้งไป (โดยการเรียกระบบอีก) แล้วสร้างแฟ้มใหม่ขึ้น (เรียกระบบอีก) หรือ (ในระบบโต้ตอบ) แสดงข้อความถามผู้ใช้ (เรียกระบบเพื่อแสดงข้อความ เรียกระบบเพื่อรับคำสั่งจากแป้นพิมพ์) ว่าจะเขียนทับหรือยกเลิกการทำงาน
หลังจากที่จัดเตรียมแฟ้มทั้งสองแล้ว โปรแกรมก็ต้องวนเวียนอ่านจากแฟ้มส่งข้อมูล (เรียกระบบ) แล้วเขียนลงในแฟ้มรับข้อมูล (เรียกระบบอีก) ในการอ่าน และ เขียนนี้ ระบบต้องส่งสถานะไปให้โปรแกรมด้วยว่าทำงานเสร็จ หรือ มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ในการอ่านอาจพบว่าอุปกรณ์ผิดพลาด หรือสิ้นสุดแฟ้มข้อมูล ในการเขียนอาจพบว่า เนื้อที่เต็มแล้ว หรือ กระดาษหมดแล้ว หรือ ถึงสุดหางเทปแล้ว เป็นต้น (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์รับข้อมูลนั้น)เมื่อคัดลอกแฟ้มข้อมูลจนหมดแล้ว โปรแกรมจะปิดแฟ้มทั้งสอง (เรียกระบบอีก) และ แสดงข้อความบนจอภาพ (เรียกระบบอีก) ว่าเสร็จแล้ว และสุดท้ายหยุดโปรแกรม (เรียกระบบเป็นครั้งสุดท้ายเช่นกัน) จากตัวอย่างนี้ จะเห็นว่าโปรแกรมหนึ่ง ๆ อาจเรียกระบบบ่อยครั้งมาก การติดต่อระหว่างโปรแกรมกับสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องทำผ่านระบบปฏิบัติการทั้งสิ้น

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 5 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ

         สิทธิ์ความเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ ในมุมมองทางตลาด ถูกจัดแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

          1. ซอฟต์แวร์เพื่อการพาณิชย์

          2. แชร์แวร์ (Shareware)

          3. ฟรีแวร์ (Freeware)

          4. ซอฟต์แวร์สาธารณะ


         ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานปิด คือซอฟต์แวร์ที่มีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ ไม่มีการเปิดเผยชุดคำสั่ง โดยเป็นเจ้าของสิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว และได้รับอนุญาตภายใต้สิทธิตามกฎหมาย


         ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานเปิด คือซอฟต์แวร์แบบ Open Source ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยแนวคิดการอาศัยความร่วมมือจากโปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลก โดยมีความตั้งใจที่จะเปิดเผยชุดคำสั่งสู่สาธารณะ เพื่อให้เหล่านักพัฒนาช่วยกันสร้างซอฟต์แวร์เหล่านี้ขี้นมา


         การปิดระบบใน Windows 7 สามารถเลือกดำเนินการในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
          - Shuttdown เป็นการปิดเครื่อง


          - Switch user เป็นการล็อกออนเข้าบัญชีผู้อื่น โดยงานของบัญชีผู้ใช้คนเดิมยังคงอยู่


          - Log off เป็นการปิดการทำงานของบัญชีผู้ใช้ที่อยู่ในปัจจุบัน เพื่อล็อกออนเข้าบัญชีผู้ใช้รายอื่น


          - Lock เป็นการหยุดพักการทำงานแบบชั่วคราว


          - Restart เป็นการปิดระบบ แล้วบูตเครื่องรอบใหม่


          - Sleep เป็นการหยุดพักระบบหรือให้ระบบหลับชั่วคราว สามารถกลับมาใช้งานเมื่อมีการขยับเมาส์หรือกดปุ่มคีย์ใดๆ บนคีย์บอร์ด


          - Hibernate เป็นการหยุดพักการทำงานชั่วคราว ด้วยการจัดเก้บงานที่ค้างคาอยู่ ณ ขณะนั้นไว้ในฮาร์ดดิสก์ และเครื่องก็จะถูกปิดไป ครั้นเมื่อมีการเปิดเครื่อง ระบบก็จะโหลดโปรแกรมที่ค้างคาอยู่ขึ้นมา เพื่อให้เราได้ใช้งานต่อ


         ระบบปฏิบัติการ Windows 8 สามารถเลือกใช้งานใน 2 มุมมองด้วยกัน คือแบบเดสก์ท็อปกับแบบเมโทรอินเตอร์เฟซที่สนับสนุนจอภาพแบบสัมผัส

บทที่ 4 ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ


ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ

        ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ มีหลากหลายชนิดด้วยกัน เนื่องจากถูกออกแบบและสร้างขึ้นบน
พื้นฐานของความต้องการที่แตกต่างกันคือ
 1.อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ
 2.ประเภทของระบบปฏิบัติการ
 3.ชนิดของซีพียูที่สนับสนุน

         อินเตอร์เฟซแบบคำสั่ง หรือ Command Line เป็นอินเตอร์เฟซที่ผู้ใช้ต้องมีความรู้ในการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ผ่านคำสั่งต่างๆ ดังนั้น ผู้ใช้จึงต้องรู้ว่า ต้องป้อนคำสั่งอะไรลงไปเพื่อโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์



         อินเตอร์เฟซแบบกราฟฟิก หรือ GUl เป็นอินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการยุคใหม่ที่เป็นแบบกราฟิกซึ้งนอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังช่วยให้ผู้ที่ใช้ที่ไม่มีความรู้สามารถโต้ตอบกับระบบได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้นผ่านการคลิกปุ่มไอคอนต่างๆ

        ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคล เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นการใช้งานส่วนบุคคลเป็นหลักในลักษณะของผู้ใช้ควเดียว เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows แต่อย่างไรก็ตาม ก็สามารถตั้งค่าเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายได้

        ระบบปฏิบัติการเครือข่าย เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนระบบเครือข่ายเป็นหลักที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อจากเครื่องลูกข่ายนับร้อยๆ เครื่องได้ เช่น Windows,Server,Novell NetWare และ Unix เป็นต้น

        ซีพียู CISC ภายในซีพียู จะประกอบไปด้วยชุดคำสั่งจำนวนมาก ส่งผลให้ซีพียูมีขนาาดใหญ่ใช้พลังงานมากขึ้น จึงทำให้เกินความร้อนสะสมสูง ตัวอย่างซซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรม CISC เช่น ชิปตระกูล Intel และ AMD 

       ซีพียู RISC ภายในซีพียูจะมีชุดคำสั่งที่น้อยกว่า โยจะบรรจุชุดคำสั่งพื้นฐานง่ายๆ ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ ส่วนคำสั่งที่ซับซ่อนก็จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการในการนำคำสั่งพื่นฐานที่มีอยู่มาประกอบเข้าด้วยกัน จึงทำให้ซีพียูมีขนาดเล็ก และใช้พลังงานน้อยกว่าตัวอย่างซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรม RISC เช่น ชิปตระกูล Power PC, Silicon Graphics และ DEC Alpha




    ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมในอดีต ถูกออกแบบใช้งานบนเครื่องพีซีในยุคเริ่มต้น เป็นระบบปฏิบัติการที่ประมวลผลแบบงานเดียว โดยมีอินเตอร์เฟซแบบคำสั่ง 

       ระบบปฏิบัติการ Windows เป็นระบบปฏิบัติการจากค่ายไมโครซอฟต์ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 90 % มีหลากหลายเวอร์ชั่น หลากหลายระดับให้เลือกใช้ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคล ระบบปฏิบัติการเครือข่าย และระบบปฏิบัติการในระบบเคลื่อนที่ 



    ระบบปฏิบัติการ Mac เป็นผลิตภัณฑ์จากค่ายแอปเปิลที่ออกกแบบมาใช้งานบนเครื่องแมคโดยเฉพาะ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นจากพื้นฐานระบบปฏิบัติการยูนิกส์ 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบปฏิบัติการ Mac


    ระบบปฏิบัติการ Unix มักถูกนำไปใช้ในวงกำจัด ข้อเด่นคือระบบเปิด ไม่ขึ้นต่อแพลตฟอร์ม ส่วนใหญ่จะนำไปใช้เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ระดับกลาง เป็นระบบปฏิบัติการที่มีรูปแบบการประมวลผลแบบมัลติยูสเวอร์และมัลติทาสกิ้ง 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบปฏิบัติการ Unix

    ระบบปฏิบัติการ Linux เป็นสายพันธ์หนึ่ง Unix และยังเป็นระบบเปิด ที่เปิดโอกาศให้นักพัฒนานำไปปรับปรุงเพื่อแบ่งปันใช้งานบนอินเตอร์เน็ต สามรถดาวน์ดหลดมาใช้งานได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต สำหรับลินุกซ์ประเทศไทย ได้รับการพัฒนาขึ้นภายใต้หน่วยงาน NECTEC ดดยใช้ชื่อว่า ลินุกซ์ทะเล (Linux Tle) 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

    ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาเป็นกรณีพิเศษ เพื่อใช้งานบนอุปกรณ์โดยเแพาะ เช่น Windows phone,Android,Apple iOS , BlackBerry,HP webOS และ Symbian เป็นต้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่